วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

Day 10 :: 内省4 :: พัฒนาการของฉันในการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น (I can change!)



 คราวนี้มาอัพเกี่ยวกับกิจกรรมที่ทำไปเมื่อพฤหัสที่ผ่านมาค่า~

เราได้เรื่อง 外国人 ค่ะ

By myself

เนื่องจากการเล่าเรื่องครั้งแรกมีที่ผิด(ที่ไม่ควรผิด)เยอะมาก จึงขอไม่แปะลงบล็อกนะคะ รู้สึกเจ็บใจที่ตัวเองนึกคำศัพท์ง่ายๆไม่ออก เช่น นึกคำว่า 道を尋ねるเลยต้องใช้คำว่า 聞くแทน เป็นต้น นอกจากนี้ฉันยังเจ็บใจที่พูดไวยากรณ์ง่ายๆผิด เช่น คำว่า 読むふりをする ฉันพูดผิดเป็น 読まんふりをする เพราะไปสับสนกับคำว่า 知らんぷりをする พอพูดจบไปแล้วถึงเพิ่งนึกขึ้นได้ว่าเมื่อครู่พูดผิด รู้สึกอายมาก ในการเล่าเรื่องครั้งนี้มีสำนวนที่ฉันไม่รู้และอยากรู้คือคำว่าสบตากัน หลังจากอ่านเรื่องที่คนญี่ปุ่นเขียนแล้วถึงค่อยรู้ว่าสำนวนนี้เรียกว่า 目線が合う นั่นเอง อีกเรื่องที่คิดว่าตัวเองควรแก้ไขคือเวลาเล่าเรื่องภาษาญี่ปุ่น พอนึกไม่ออกฉันมักจะหลุดพูดเป็นภาษาไทยออกมา ซึ่งหากเป็นการเล่าเรื่องให้คนญี่ปุ่นฟังจริงๆ น่าจะไม่เหมาะสม


I see

ホテルのロビーのソファにペエスケと新聞を読んでいるおじさんが座っている。ペエスケはぼんやりしていると、ふと、外国人らしき男と目線が合ってしまった。その外国人は地図を片手に、どうやら道を探しているようだ。すると、その外国人は突然にっこり笑って、道を尋ねようとして、近寄ってきた。「やばっ!」と思って、ペエスケは隣に座っているおじさんの新聞の陰に隠れて、新聞を読むふりをした。そうすると、その外国人は唖然とした。このように、ペエスケを例として、英語に自信がなかったり外国人が怖かったりする日本人の特徴を描いた話だ。

จากการลองทำ タスク นี้ รู้สึกว่าการเล่าเรื่องของตัวเองกับของคนญี่ปุ่นมีจุดที่ต่างกันหลายประการ 




1.การใช้ tense: เราใช้รูป ~ている เพียงรูปเดียว ส่วนคนญี่ปุ่นจะใช้ทั้งรูป ~ている ~ていた ~る ~た สลับกัน ทำให้เรื่องไม่น่าเบื่อ และจุดที่ใช้รูปปัจจุบันจะให้ความรู้สึกเหมือนเราได้ไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย


2.การใช้คำสันธานเชื่อมประโยค: เราติดใช้รูป そして เชื่อมประโยคเพราะรู้สึกว่าเป็นคำที่ใช้ง่าย ติดปาก แต่พอลองอ่านงานของคนญี่ปุ่นแล้ว พบว่าไม่มีใครใช้ そしてเลย ส่วนใหญ่ใช้คำว่า すると แทน


3.การให้รายละเอียด: งานที่ตัวเองเขียนจะเล่าเพียง “สิ่งที่เกิดขึ้น” แต่ขาดการเล่ารายละเอียด ในขณะที่งานเขียนของคนญี่ปุ่นทุกชิ้นจะเล่ารายละเอียดว่าเหตุการณ์นี้เกิดที่ไหน ตัวละครในฉากมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น


4.การใช้รูป ~ていく ~てくる ~てしまう: งานเขียนของตัวเองไม่มีการใช้รูปเหล่านี้เลย ในขณะที่งานเขียนของคนญี่ปุ่นมีการใช้รูปพวกนี้เยอะมาก รู้สึกต้องพยายามใช้รูปพวกนี้ให้บ่อยขึ้น


5.การแสดงความเห็นต่อเรื่อง: งานเขียนของตัวเองมีเพียงการเล่าว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่มีการแสดงความเห็นต่อเรื่อง แต่งานของคนญี่ปุ่นจะมีการแสดงความคิดเห็น ตีความ หรือวิเคราะห์เรื่อง ส่งผลให้พอเราอ่านแล้วเราจะรู้สึกว่าได้อะไรจากเรื่อง


6.การใช้ 副詞: งานเขียนตัวเองขาดการใช้ 副詞 ในขณะที่คนญี่ปุ่นมีการใช้คำเหล่านี้เยอะ เช่น ふと どうやら ส่งผลให้สามารถเล่าเรื่องได้ลื่นไหลมากขึ้น


シルより

1 ความคิดเห็น:

  1. I seeのものはよく内容が伝わってきますよ。
    ただ、いくつかあれ?と思ったところをあげれば、
    ①「ペエスケはぼんやりしていると、」・・・ペエスケはもう登場してますよ。
    ②「地図を片手に」・・・あんなに大きな地図片手で支えられるのかな?
    その後、~ていく/~てくる/~てしまうは使えるようになりましたか?

    ตอบลบ