สัปดาห์ก่อนทำความรู้จักกับ
思うสองประเภทแรกไปแล้ว คราวนี้ก็มาต่อกันด้วยอีกสามประเภทที่เหลือกันเถอะ
มาดูกันว่าคนญี่ปุ่นเขา “คิด” กันยังไงบ้าง
1.
กังวลใจ
N1がN2を思い過ごす(おもいすごす)
ความหมาย
คิดมาก (แม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยที่ไม่น่าคิดก็ยังเก็บมาคิด)
N1がN2を/と思い悩む(おもいなやむ)
N1がN2を/と思い迷う(おもいまよう)
N1がN2に/と思い煩う(おもいわずらう)
N1が思い乱れる(おもいみだれる)
ความหมาย
รู้สึกกังวล
(มีความลังแลแฝงอยู่ด้วยว่าจะทำอย่างไรดี จะเลือกอันไหนดี)
N1が思い余る(おもいあまる)
ความหมาย
กังวล
คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ตกเสียที
(จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นนี่คิดมากกันจริงๆเนอะ คำว่ากังวลเพียบเชียว
555)
ตัวอย่างประโยค
私は何事も思い過ごす性格があります。
ฉันเป็นคนคิดมาก
どの会社に就職するかと思い悩んでいる。
กังวลว่าจะเข้าทำงานที่บริษัทไหนดี
私は思い余って、母に相談した。
ฉันคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ตกเสียที จึงปรึกษาแม่
2.
เข้าใจผิด คิดไปเอง
N1がN2をN3と~
思い込む(おもいこむ)เข้าใจผิดคิดว่าเรื่องที่ไม่ใช่ความจริงเป็นเรื่องจริง
思い違える(おもいちがえる)เข้าใจผิดคิดว่า A เป็น B
ตัวอย่างประโยค
夢を現実と思い違えてしまった。
เข้าใจผิดคิดว่าความฝันเป็นความจริง
3.
ตัดสินใจ
N1がN2を~
思い切る(おもいきる)
思い定める(おもいさだめる)
ความหมาย
ตัดสินใจ
ตัดสินใจทำ...
N1がN2を思い返す(おもいかえす)
ความหมาย
ตัดสินใจใหม่
(ตัดสินใจไปแล้วรอบหนึ่ง แล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา จึงตัดสินใจใหม่อีกรอบ)
ตัวอย่างประโยค
彼は思い切って、彼女にプロポーズした。
เขาตัดสินใจขอเธอแต่งงาน
最初は山に行こうと思ったが、思い返して、海に行くことにした。
ตอนแรกตั้งใจจะไปภูเขา แต่พอมาคิดดูอีกทีจึงตัดสินใจไปทะเล
แหะๆ
จบไปแล้วกับ思うสรุปง่ายๆก็คือจากการศึกษาพบว่าสำนวนนี้สามารถแบ่งได้เป็น
5 ประเภทใหญ่ๆ
1.ประเภทนึกเรื่องในอดีต หรือเรื่องที่เคยรู้แต่ลืมไปแล้วออก
2.ประเภทเกิดไอเดียใหม่
3.กังวลใจ
4.เข้าใจผิด
คิดไปเอง
5.ตัดสินใจ
พอมาจัดเป็นประเภทแล้วจำง่ายขึ้นเนอะ
เอ๊ะ หรือว่าเราคิดไปเอง? 555 ยังไงก็หวังว่าเพื่อนๆจะได้ลองเอาสำนวนนี้ไปใช้ดูน้า
シルより
思い違える
ตอบลบอันนี้ๆ เด็ดมาก ถ้าไม่มาอ่าน ก้จะใช้แค่ 勘違い まちがう อะไรพื้นๆ
思い นี่พอใส่แล้ว เชื่อมได้หลายคำ หลายประโยคเลยเนอะ
มีพาท2ด้วยย 5555 ชอบเอ็นที่นี้มากๆเลยค่ะ ต่อจากนี้เวลาเจอ思うต่างๆที่ไม่เข้าใจ จะมาเปิดดูบล็อกนี้นะคะ
ตอบลบ